วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของไข่ปลา

แบ่งตามความสามารถในการลอยน้ำได้เป็น  3  ประเภท  ดังนี้
                1 ไข่ลอย (Pelagic  Egg)  ไข่ชนิดนี้มีเปลือกบาง   ค่อนข้างใส   เปลือกไม่มีเมือกเหนียว   ไข่แดงมีหยดน้ำมันอยู่มาก   เมื่อปล่อยออกจากแม่ปลาแล้วมักจะลอยขึ้นอยู่ที่ผิวน้ำ   การฟักตัวค่อนข้างเร็ว   ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ประเภทนี้จะลอยตัวอยู่ผิวน้ำโดยหงายท้องขึ้น   ตัวอย่าง  เช่น   ปลากระดี่จูบ   ปลาแรด   ปลากัด   ปลากระดี่ชนิดต่างๆ   และปลากะพงขาว
                2 ไข่ครึ่งลอยครึ่งจม (Semibouyant  Egg)  ไข่ชนิดนี้มีเปลือกไข่บางไม่มีเมือกเหนียว   ไข่โปร่งใส   ไม่มีหยดน้ำมัน   การฟักตัวรวดเร็ว   เมื่อปล่อยออกจากแม่ปลาจะจมน้ำ   จากนั้นเปลือกไข่จะค่อยๆดูดน้ำเข้าไปในช่อง Perivitelline  Space   ทำให้เปลือกไข่ขยายตัวออก  3 - 5  เท่า   เกิดแรงพยุงให้ไข่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำได้ดี   แต่ถ้าไม่มีกระแสน้ำไข่จะจมตัวลงตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ประเภทนี้จะว่ายน้ำพุ่งตัวขึ้นลงตลอดเวลา   ตัวอย่าง  เช่น   ปลาสร้อย   ปลาตะเพียน   ปลาม้าลาย   ปลาทรงเครื่อง   และปลากาแดง
                3 ไข่จม (Demersal  Egg)  ไข่ชนิดนี้มักมีเปลือกหนา   ไข่ทึบแสง   ไม่มีหยดน้ำมัน   การฟักตัวช้า   เมื่อปล่อยออกจากแม่ปลาจะจมลงก้นบ่อ   ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ประเภทนี้จะเกาะคว่ำตัวอยู่ตามวัสดุต่างๆใต้น้ำ   ไข่ประเภทนี้ยังแบ่งออกเป็น  2  แบบ
                3.1 ไข่จมแบบไม่ติดกับวัตถุ (Non  Adhesive-demersal  Egg)  ไข่ชนิดนี้จะจมอยู่ตามพื้นก้นบ่อหรือก้นภาชนะ   ปลาที่มีไข่แบบนี้มีไม่มากนัก   เช่น   ปลานิล   ปลามังกร
               3.2 ไข่จมแบบติดวัตถุ (Adhesive-demersal  Egg)  ไข่ชนิดนี้เมื่อปล่อยออกจากแม่ปลาและได้สัมผัสกับน้ำ   จะเกิดสารเหนียวที่เปลือกไข่   ทำให้ไข่สามารถติดกับวัสดุต่างๆได้ทันทีที่ไข่ไปสัมผัส   เช่นตามราก   และลำต้นพันธุ์ไม้น้ำ   หรือผนังบ่อ   ตัวอย่าง  เช่น   ปลาสวาย   ปลาบู่   ปลาทอง   ปลาคาร์พ   ปลาเทวดา   ปลาปอมปาดัวร์   ปลานีออน   ปลากราย   และปลาออสการ์    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น